Saturday, November 24, 2012

ติดตามการเลี้ยงเป็ดอินทรีย์ของลุงบุญชวน มะลัยโย

ติดตามการเลี้ยงเป็ดอินทรีย์ของลุงบุญชวน มะลัยโย



ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งออกติดตามการเลี้ยงเป็ดอินทรีย์ของลุงบุญชวน มะลัยโย ตามคำเชิญชวนให้ไปดูกิจกรรมที่ปรับปรุงพัฒนาของลุงชวนหลังจากที่ได้รับ รางวัลอันดับที่ ๔ ของเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาการเลี้ยงสัตว์ ลุงไม่เคยหยุดยั้งมีอะไรใหม่มานำเสนอตลอด ก็เลยถือโอกาสชวนลุงชวนนำผลิตภัณฑ์การเกษตรของคุณลุงและเครือข่ายไปนำเสนอใน วันประชุมนักวิชาการของสำนักงานปศุสัตว์หลายๆเขตที่จะมาประชุมที่เชียงราย และในวันงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดเชียงรายด้วย

การระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในเป็ดในประเทศไทย Domestic ducks and H5N1 influenza Epidemic, Thailand

การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง ชนิด H5N1 ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา การระบาดได้เกิดในสัตว์หลายชนิดรวมไปถึงการติดเชื้อในคนและเสียชีวิต พบว่าเป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีโอกาสติดเชื้อและแพร่กระจายโรคได้ โดยอาจไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามได้มีความพยายามที่จะจัดระบบการเลี้ยงเป็ดเพื่อให้สามารถควบคุม การเกิดโรคและการแพร่กระจายในรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำ ได้ ในปัจจุบันสามารถแบ่งแยกระบบการเลี้ยงเป็ดในประเทศไทยได้เป็น 4 รูปแบบ (รูปที่ 1) ได้แก่ รูปแบบที่ 1 เป็นการเลี้ยงในระบบปิดที่มีการป้องกันโรคอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเลี้ยงเป็ดเนื้อเพื่อการส่งออก รูปแบบที่ 2 เป็นโรงเรือนเปิด มีระบบการป้องกันโรคที่พอใช้ แต่ยังยังมีระดับความเสื่ยงในการเกิดโรคได้บ้าง ส่วนใหญ่มักเป็นการเลี้ยงเป็ดเนื้อและเป็ดไข่ รูปแบบที่ 3 เป็นการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการเกิดโรคไข้หวัดนก รูปแบบที่ 4 เป็นการเลี้ยงเป็ดหลังบ้าน ซึ่งได้แก่เป็ดเทศ ลูกผสมเป็ดเทศ หรือเป็ดไข่ที่เลี้ยงไว้รับประทานไข่ในครัวเรือน ตลอดระยะเวลาของการเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก กรมปศุสัตว์ได้เฝ้าติดตามหาเชื้อไวรัสในเป็ดและสัตว์ปีกอื่น ๆ และได้มีการทำลายฝูงเป็ดที่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิดสายพันธุ์รุนแรง H5N1 นอกจากนี้มีความพยายามที่จะนำฝูงเป็ดไล่ทุ่งเข้าสู่โรงเรือน ซึ่งมีปัญหาที่เกิดขึ้นหลายประการในการปฏิบัติจริง และยังคงต้องปรับปรุงมาตรการอยู่ต่อไป อย่างไรก็ตามจากการศึกษาไวรัสที่แยกได้จากสัตว์ปีกโดยเฉพาะเป็ด พบว่าเชื้อไข้หวัดนกตั้งแต่ ปี 2547 จนถึง 2549 สามารถก่อโรคด้วยความรุนแรงที่ต่างกันในเป็ดที่ทดลองในห้องทดลองความปลอดภัย ชีวภาพระดับ 3+ ณ สถาบัน St. Jude Children’s Research Hospital สหรัฐอเมริกา โดยพบว่าเชื้อไข้หวัดนกที่แยกได้ในปี 2547 ยังคงก่อโรคและทำให้เป็ดทดลองตาย 100% ในขณะที่ในปี 2548 และ 2549 ความรุนแรงที่ก่อโรคในเป็ดลดน้อยลง นอกจากจะศึกษาการก่อโรคของเชื้อไข้หวัดนก H5N1 ในเป็ดแล้ว ได้มีการศึกษาความสามารถในการปล่อยเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในเป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งการศึกษาได้กระทำระหว่างที่มีการระบาดในปี 2547-2548 พบว่า เป็ดไล่ทุ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นเป็ดไข่พันธุ์ผสมพื้นเมือง-กากีแคมเบลล์ สามารถปล่อยไวรัสทางอุจจาระได้เป็นเวลา 7-10 วันก่อนที่จะแสดงอาการป่วย และอาจเห็นอาการป่วยไม่ชัดเจน แต่มักจะตายด้วยโรคแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วยเป็นต้นว่า โรคกาฬโรคเป็ด การติดเชื้อรา โรคอหิวาต์ ฯลฯ เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายเป็ดไล่ทุ่งไปใน สถานที่เลี้ยงต่างๆ หรือในทุ่งนาอยู่บ่อยครั้ง อาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อไข้หวัดนกได้ อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงในพื้นที่ก็คือ เป็ดไล่ทุ่งเหล่านี้ไม่เคยเดินหรือเข้าไปในฟาร์มสัตว์ปีกแต่อย่างใด ดังนั้นบทบาทของคนและนกธรรมชาติที่สามารถนำเชื้อไข้หวัดนกติดต่อระหว่างเป็ด ไล่ทุ่งและฟาร์มจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป ขณะนี้ทางคณะวิจัย กำลังศึกษาเรื่องการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดนกอยู่โดยได้รับทุนวิจัยจาก กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

รูปที่ 1A การเลี้ยงเป็ดในระบบปิดที่มีการป้องกันโรค (Biosecurity) อย่างสมบูรณ์
รูปที่ 1B การเลี้ยงเป็ดในโรงเรือนเปิด แต่ยังมีระบบการป้องกันโรคในระดับกลาง ซึ่งไม่สา มารถป้องกันโรคไข้หวัดนกได้และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดโรคได้
รูปที่ 1C การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนกสูง เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายเป็ดไปในหลายพื้นที่และไม่มีระบบการป้องกันโรค
รูปที่ 1D การเลี้ยงเป็ดหลังบ้าน โดยที่ไม่มีระบบการป้องกันโรคอย่างดี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคระบาด
สามารถติดตามเนื้อหาการผลงานวิจัยใน
        Thaweesak Songserm, Rungroj Jam-on, Numdee Sae-Heng, Noppadol Memak, Diane J. Hulse Post, Katharine M. Sturm-Ramirez and Robert G. Webster. 2006. Domestic ducks and H5N1 influenza epidemic, Thailand. Emerging Infectious Diseases. Vol 12, no 4., April, 575-581. http://www.cdc.gov/eid

การเลี้ยงเป็ดพันธ์ไข่

การเลี้ยงเป็ดพันธ์ไข่นี้ต้องมีแหล่งน้ำให้เป็ดลอยและเป็นแหล่งอาหารของเป็ดด้วย จากนั่นทำโรงเรือนให้เป็ดนอนและเป็นที่ไข่

อาหารเป็ด

ในปัจจุบันมีหลายบริษัที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอหาาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavus สร้างสารพิษชื่อ alfatoxin ซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด

อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้

1. อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่น ที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุสังเคราะห์ทาง เคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.
โรคเป็ดและการป้องกัน เป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีปัญหาเรื่องโรคน้อยกว่าไก่ หากทำการเลี้ยงในกรงตับด้วยแล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดที่สำคัญมีดังนี้
1. โรคอหิวาต์เป็ด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
อาการ เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูงถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน
มักจะจับกลุ่มกันอยู่ใกล้บริเวณรางน้ำ
อุจจาระมีสีขาวปนเขียวและมีลักษณะเป็นยางเหนียว
บางครั้งเป็ดจะตายอย่างกระทันหัน หรือถ้าเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบบวม ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
ในเป็ดไข่จะทำให้ไข่ลดลงได้
การรักษา การใช้ยาซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะจะช่วยลดความเสียหายในฝูงเป็ดที่เริ่มเป็นระยะแรก
ยาซัลฟา (ยาซัลฟา, ซัลฟาเมอราซีน, ซัลฟาเมทธารีน) ยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน, ออกซีเตตร้าซัยคลิน) ผสมอาหาร 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน จะช่วยลดความรุนแรงได้
การป้องกัน ทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 2 เดือนและทำซ้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซี.ซี.

2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เมื่อเป็นเป็ดจะแสดงอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหว
มีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว เมื่อเป็นมากจะมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย
อุจจาระสีเขียวปนเหลือง บางครั้งมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทรวรจะแดงช้ำ
หายใจลำบาก
การรักษา ไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล คงมีแต่การป้องกันเท่านั้น

สายพันธุ์เป็ดไข่ที่นิยมเลี้ยงมาที่สุด คือ พันธุ์กากีแคมเบล สีน้ำตาล หรือสีออกแนวน้ำตาลครับพันธุ์นี้ต้นกำเนิดสายพันธุ์นี้มาจากประเทศอังกฤษ เป็นพันธุ์ที่มีความโดนเด่นเรื่องความแข็งแรง ให้ไข่ได้ค่อนข้างมาก ถึงปีละประมาณ 300-320ฟอง พันธุ์กากีแคมเบลล์ พัฒนาพันธุ์ในประเทศอังกฤษ จนได้เป็นเป็ดพันธุ์ที่ให้ไข่ดกที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่งโดยให้ไข่ปีละมากกว่า 300 ฟอง
เป็ดกากีมีขนสีน้ำตาล แต่ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า ปากดำค่อนข้างไปทางเขียว จงอยปากต่ำ ตาสีน้ำตาลเข้ม คอส่วนบนสีน้ำตาล แต่ส่วนล่างเป็นสีกากี ขาและเท้าสีเดียวกันกับขน แต่เข้มกว่าเล็กน้อย

ตัวเมียเมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-2.5 กก. เริ่มไข่เมื่ออายุประมาณ 41/2 เดือน ส่วนตัวผู้ จะมีขนสีเขียวที่หัว คอ ไหล่ และปลายปีก ขนตัวสีกากีและน้ำตาลขาและเท้าสีกากีเข้ม โตเต็มที่หนักประมาณ 2.5-2.7 กก.
ลักษณะทั่วไปของเป็ดที่ให้ไข่ดก

เป็ดมีลำตัวลึกและกว้าง

ขนกร้านไม่สวยงาม ไม่พองฟู

นัยน์ตานูนเด่นเป็นประกายสดใส

ช่วงคอลึกและแข็งแรง

ก้นย้อยห้อยเกือบติดดิน

จับดูหน้าท้องจะบางและนุ่ม

กระดูกเชิงกรานกว้าง ทวารกว้างและชื้น

คลิ๊กที่ภาพ

สำหรับ วิธีการเลี้ยงเป็ดไข่ ก็คือให้กินอาหารสำเร็จรูป ผสมรำละเอียด และให้อาหารเสริมโดยให้เปลือกกุ้ง ให้เป็ดกินเช้าเย็นและสามารถนำเศษผักพื้นบ้านเช่นผักตบชวา ผักบุ้งสับให้เป็ดกินได้ด้วยครับ เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้ประหยัดต้นทุนให้มากที่สุดเพราะเป็ดเป็นเป็นสัตว์ที่ กินมากครับ และเรื่องของสภาพอากาศก็สำคัญเหมือนกันถ้ามีฝนตกตลอดและอากาศชื้นเป็ดก็อาจ จะตายได้ และเรื่องของเสียงรบกวนก็มีส่วนทำให้เป็ดไม่ไข่ด้วยเช่นเสียงสุนัขเข้าไป เห่าในบริเวณรอบๆคอกเป็ด เสียงเด็กที่เล่นส่งเสียงดัง เป็นต้น และเมื่อเราเลี้ยงเป็ดไปได้ประมาณ 2 ปี เป็ดก็จะเริ่มให้ไข่ได้ในปริมาณที่น้อยลง เราก็ต้องจำหน่ายเป็ดที่ไม่ไข่ออกไปแล้วหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เข้ามาใหม่

เคล็ดลับในการเลี้ยงเป็ดไข่ หลังจากที่เราซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยง
วิธีการสังเกตุว่าเป็ดตัวไหนเป็นตัวผู้ตัวเมียให้ทราบโดยมีรายละเอียดดังนี้ -หลังจากที่เราซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยงเราจะไม่รู้ว่าตัวไหนมีเพศอะไรเพราะมันมี ขนาดเล็กอยู่ แต่เมื่อเราเลี้ยงไปสักพักระยะเวลา 3 เดือน ก็จะสังเกตุออกแล้ว โดยตัวผู้จะร้องเสียงเบาและเสียงสั้นผิดกับตัวเมียและตัวผู้ที่หางจะมีขน 2 เส้นที่มีลักษณะชี้ด้วย

หากมีเป็ดตัวผู้อยู่เมื่อผสมพันธุ์กับเป็ดตัวเมียไข่ที่ได้ออกมาจะไม่มี คุณภาพแม่ค้าจะไม่รับซื้อเนื่องจากเมื่อเป็ดตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียไข่ ที่ออกมาจะเก็บไว้ได้ไม่นาน ในระยะเวลา 7-8 วันเมื่อนำไข่ไปส่องไฟหรือแดดดูก็จะพบว่ามีเส้นเลือดที่จะทำให้ไข่ฟักตัว เป็นเป็ดทำให้นำไปบริโภคไม่ได้ สำหรับวิธีการแก้ก็ให้แยกเป็ดตัวผู้ออกให้เหลือแต่เป็ดตัวเมียโดยให้เป็ดตัว เมียผสมพันธุ์กันเองไข่ที่ได้มาก็จะมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด
การเลี้ยงเป็ดไข่
เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ 7 วัน ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ
โรงเรือนต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เป็นลานกว้าง มีหลังคา กันแดด กันลม กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้ จัดที่ให้อาหารและน้ำ
อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย
การให้อาหาร คือ หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น
ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด ตามแอ่ง มุมต่าง ๆ ของคอก
วิธีการเก็บไข่ คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ 3 ฟอง จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

นิทานเรื่องเป็ด อ่านแล้ว อมยิ้มได้ในทันที รับรองไม่เซ็งเป็ด

วันนี้วันศุกร์ วันสุดท้ายของสัปดาห์
ขอนำเสนอเรื่องเบาสมองสัก ๑ เรื่องเพื่อให้เราได้อมยิ้มกัน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ เป็ด
เป็ดตัวหนึ่งเดินมาที่ร้านสะดวกซื้อและถามคนหายว่า "มีองุ่นมั้ย"
คนขายตอบ-ไม่มี
เป็ดก็เดินกลับไป
วันรุ่งขึ้นกลับมาใหม่ ก็มาถามว่า "มีองุ่นมั้ย"
คนขายก็ตอบว่า ไม่มี
เป็ดก็จึงกลับไปเป็นวันที่สอง
วันรุ่งขึ้นเป็ดกลับมาพร้อมด้วยคำถามเดิมว่า "มีองุ่นมั้ย"
คน ขายโกรธจัดที่เป็ดพูดไม่รู้เรื่อง จึงสวนไปว่า "บอกแล้วไงว่าไม่มี ถ้าพรุ่งนี้ฉันเห็นแกมาถามหาองุ่นอีกนะ ฉันจะเอาปืนยิงแกให้ตายเลย"
วันรุ่งขึ้น ท่านคิดว่าเป็ดจะมาหรือไม่
ปรากฎว่าเป็ดมันมามาดใหม่ มันมาถามว่า "ที่นี่มีปืนมั้ย"
คนขาย-ไม่มี
เป็ด-"แล้วมีองุ่นมั้ย"
อย่างนี้เค้าจึง  "เซ็งเป็ด" กันไงครับ


ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
http://webboard.playpark.com/imagehosting/34548ce51104c15b.jpg

เป็ด Anatidae



เป็ด

เป็ด เป็นสัตว์ปีกในวงศ์ Anatidae (วงศ์นกเป็ดน้ำ) ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึด ติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายน้ำ ตัวมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว เขียว ชมพู ม่วง ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายน้ำเก่ง กินปลา พืชน้ำและสัตว์เล็กๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดมัลลาร์ด (Anas platyrhynchos) เป็ดเป็นนกน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าหงส์และห่าน และสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เป็ดมีแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น หญ้า เมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา แมลง การเลี้ยงเป็ดมี 2 ประเภท คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาม การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์ อาหารที่ทำจากเป็ดเช่นเป็ดปักกิ่ง การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงามพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์ หรือได้รับเลี้ยงดูโดยคนมีฐานะ

สายพันธุ์เป็ด ปัจจุบัน

เป็ด ที่เลี้ยงโดยทั่วไปมีหลายสายพันธุ์ คือ เป็ดไข่ ,เป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ (Khaki Campbell) ,เป็ดพันธุ์อินเดียนรันเนอร์ (Indian Runner) ,เป็ดพันธุ์พื้นเมือง เช่น เป็ดพันธุ์นครปฐม เป็ดพันธุ์กบินทร์บุรี เป็ดพันธุ์ปากน้ำ ,เป็ดพันธุ์โซมาเลีย ,เป็ดเนื้อ ,เป็ดพันธุ์ปักกิ่ง (Pekin) ,เป็ดพันธุ์มัสโควี่ (เป็ดเทศ) (Muscovy) ,เป็ดพันธุ์บาบารี่ (Barbary) ,เป็ดพันธุ์ปั๊วฉ่าย ,เป็ดพันธุ์บาเซโลน่า
การเลี้ยงเป็ดจะสำเร็จหรือไม่นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกเป็ด ระยะ 2 สัปดาห์แรกเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าลูกเป็ดนั้น ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์ม ถ้าลูกเป็ดแข็งแรง เติบโตสม่ำเสมอ สมบูรณ์มีภูมิคุ้มกันโรคระบาดและไม่อมโรคแล้ว การเลี้ยงในระยะต่อไปจะไม่ประสบปัญหา โดยปกติแล้วลูกเป็ดอายุ 0-2 สัปดาห์ มีความต้องการอยู่ 5 อย่างด้วยกัน คือการเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดเข้ามาเลี้ยง ความอบอุ่น อาหารที่มีคุณภาพ น้ำสะอาดและการป้องกันโรค