Saturday, November 24, 2012

การเลี้ยงเป็ดพันธ์ไข่

การเลี้ยงเป็ดพันธ์ไข่นี้ต้องมีแหล่งน้ำให้เป็ดลอยและเป็นแหล่งอาหารของเป็ดด้วย จากนั่นทำโรงเรือนให้เป็ดนอนและเป็นที่ไข่

อาหารเป็ด

ในปัจจุบันมีหลายบริษัที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอหาาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavus สร้างสารพิษชื่อ alfatoxin ซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด

อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้

1. อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่น ที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุสังเคราะห์ทาง เคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.
โรคเป็ดและการป้องกัน เป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีปัญหาเรื่องโรคน้อยกว่าไก่ หากทำการเลี้ยงในกรงตับด้วยแล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดที่สำคัญมีดังนี้
1. โรคอหิวาต์เป็ด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
อาการ เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูงถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน
มักจะจับกลุ่มกันอยู่ใกล้บริเวณรางน้ำ
อุจจาระมีสีขาวปนเขียวและมีลักษณะเป็นยางเหนียว
บางครั้งเป็ดจะตายอย่างกระทันหัน หรือถ้าเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบบวม ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
ในเป็ดไข่จะทำให้ไข่ลดลงได้
การรักษา การใช้ยาซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะจะช่วยลดความเสียหายในฝูงเป็ดที่เริ่มเป็นระยะแรก
ยาซัลฟา (ยาซัลฟา, ซัลฟาเมอราซีน, ซัลฟาเมทธารีน) ยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน, ออกซีเตตร้าซัยคลิน) ผสมอาหาร 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน จะช่วยลดความรุนแรงได้
การป้องกัน ทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 2 เดือนและทำซ้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซี.ซี.

2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เมื่อเป็นเป็ดจะแสดงอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหว
มีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว เมื่อเป็นมากจะมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย
อุจจาระสีเขียวปนเหลือง บางครั้งมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทรวรจะแดงช้ำ
หายใจลำบาก
การรักษา ไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล คงมีแต่การป้องกันเท่านั้น

สายพันธุ์เป็ดไข่ที่นิยมเลี้ยงมาที่สุด คือ พันธุ์กากีแคมเบล สีน้ำตาล หรือสีออกแนวน้ำตาลครับพันธุ์นี้ต้นกำเนิดสายพันธุ์นี้มาจากประเทศอังกฤษ เป็นพันธุ์ที่มีความโดนเด่นเรื่องความแข็งแรง ให้ไข่ได้ค่อนข้างมาก ถึงปีละประมาณ 300-320ฟอง พันธุ์กากีแคมเบลล์ พัฒนาพันธุ์ในประเทศอังกฤษ จนได้เป็นเป็ดพันธุ์ที่ให้ไข่ดกที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่งโดยให้ไข่ปีละมากกว่า 300 ฟอง
เป็ดกากีมีขนสีน้ำตาล แต่ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า ปากดำค่อนข้างไปทางเขียว จงอยปากต่ำ ตาสีน้ำตาลเข้ม คอส่วนบนสีน้ำตาล แต่ส่วนล่างเป็นสีกากี ขาและเท้าสีเดียวกันกับขน แต่เข้มกว่าเล็กน้อย

ตัวเมียเมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-2.5 กก. เริ่มไข่เมื่ออายุประมาณ 41/2 เดือน ส่วนตัวผู้ จะมีขนสีเขียวที่หัว คอ ไหล่ และปลายปีก ขนตัวสีกากีและน้ำตาลขาและเท้าสีกากีเข้ม โตเต็มที่หนักประมาณ 2.5-2.7 กก.
ลักษณะทั่วไปของเป็ดที่ให้ไข่ดก

เป็ดมีลำตัวลึกและกว้าง

ขนกร้านไม่สวยงาม ไม่พองฟู

นัยน์ตานูนเด่นเป็นประกายสดใส

ช่วงคอลึกและแข็งแรง

ก้นย้อยห้อยเกือบติดดิน

จับดูหน้าท้องจะบางและนุ่ม

กระดูกเชิงกรานกว้าง ทวารกว้างและชื้น

คลิ๊กที่ภาพ

สำหรับ วิธีการเลี้ยงเป็ดไข่ ก็คือให้กินอาหารสำเร็จรูป ผสมรำละเอียด และให้อาหารเสริมโดยให้เปลือกกุ้ง ให้เป็ดกินเช้าเย็นและสามารถนำเศษผักพื้นบ้านเช่นผักตบชวา ผักบุ้งสับให้เป็ดกินได้ด้วยครับ เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้ประหยัดต้นทุนให้มากที่สุดเพราะเป็ดเป็นเป็นสัตว์ที่ กินมากครับ และเรื่องของสภาพอากาศก็สำคัญเหมือนกันถ้ามีฝนตกตลอดและอากาศชื้นเป็ดก็อาจ จะตายได้ และเรื่องของเสียงรบกวนก็มีส่วนทำให้เป็ดไม่ไข่ด้วยเช่นเสียงสุนัขเข้าไป เห่าในบริเวณรอบๆคอกเป็ด เสียงเด็กที่เล่นส่งเสียงดัง เป็นต้น และเมื่อเราเลี้ยงเป็ดไปได้ประมาณ 2 ปี เป็ดก็จะเริ่มให้ไข่ได้ในปริมาณที่น้อยลง เราก็ต้องจำหน่ายเป็ดที่ไม่ไข่ออกไปแล้วหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เข้ามาใหม่

เคล็ดลับในการเลี้ยงเป็ดไข่ หลังจากที่เราซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยง
วิธีการสังเกตุว่าเป็ดตัวไหนเป็นตัวผู้ตัวเมียให้ทราบโดยมีรายละเอียดดังนี้ -หลังจากที่เราซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยงเราจะไม่รู้ว่าตัวไหนมีเพศอะไรเพราะมันมี ขนาดเล็กอยู่ แต่เมื่อเราเลี้ยงไปสักพักระยะเวลา 3 เดือน ก็จะสังเกตุออกแล้ว โดยตัวผู้จะร้องเสียงเบาและเสียงสั้นผิดกับตัวเมียและตัวผู้ที่หางจะมีขน 2 เส้นที่มีลักษณะชี้ด้วย

หากมีเป็ดตัวผู้อยู่เมื่อผสมพันธุ์กับเป็ดตัวเมียไข่ที่ได้ออกมาจะไม่มี คุณภาพแม่ค้าจะไม่รับซื้อเนื่องจากเมื่อเป็ดตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียไข่ ที่ออกมาจะเก็บไว้ได้ไม่นาน ในระยะเวลา 7-8 วันเมื่อนำไข่ไปส่องไฟหรือแดดดูก็จะพบว่ามีเส้นเลือดที่จะทำให้ไข่ฟักตัว เป็นเป็ดทำให้นำไปบริโภคไม่ได้ สำหรับวิธีการแก้ก็ให้แยกเป็ดตัวผู้ออกให้เหลือแต่เป็ดตัวเมียโดยให้เป็ดตัว เมียผสมพันธุ์กันเองไข่ที่ได้มาก็จะมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด
การเลี้ยงเป็ดไข่
เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ 7 วัน ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ
โรงเรือนต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เป็นลานกว้าง มีหลังคา กันแดด กันลม กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้ จัดที่ให้อาหารและน้ำ
อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย
การให้อาหาร คือ หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น
ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด ตามแอ่ง มุมต่าง ๆ ของคอก
วิธีการเก็บไข่ คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ 3 ฟอง จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

0 comments:

Post a Comment