Thursday, January 31, 2013

การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 21 สัปดาห์ขึ้นไป

การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 21 สัปดาห์ขึ้นไป

      

  เมื่อเป็ดอายุได้ 21 สัปดาห์ก็จะเริ่มไข่ ในระยะนี้เป็ดต้องการอาหารสำหรับเป็ดไข่ที่มีคุณค่าทางโภชนะค่อนข้างสูง ปริมาณอาหารที่ให้ขึ้นอยู่กับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเป็ดเริ่มไข่จะกินอาหารวันละประมาณ 100 กรัม/ตัว/วัน ก็เพียงพอสำหรับการผลิตไข่ในช่วงเแรก น้ำหนักไข่ประมาณ 45 กรัม นอกจากนี้ขนาดไข่เพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่ให้และตามอายุของเป็ด เมื่ออายุมากขึ้นขนาดของไข่ก็ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ปริมาณอาหารที่ใช้จะอยู่ระหว่าง 140-160 กรัม/ตัว/วัน ถ้าหากให้อาหารไม่เต็มที่ขนาดของไข่ก็จะเล็กลงเช่นกัน ทั้งนี้ปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาว่าอาหารที่ใช้เลี้ยงมากน้อยเพียงใด ถ้าอาหารหมดเร็วก็ให้เพิ่มขึ้น ถ้าอาหารเหลือก้ลดปริมาณลง ถ้าในบางครั้งจะมีการใช้อาหารมากเกินไป ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งอาจมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้
           1. หัวอาหารสำหรับเป็ดไข่ ที่ใช้ในการผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงประมาณ 16 บาท/ก.ก. อัตราส่วนที่ใช้ผสมกับรำละเอียด ปลายข้าว และรำหยาบ โดยใช้ประมาณ 25-35% ในสูตรอาหาร เกษตรกรอาจจะชั่งน้ำหนักหัวอาหารมากเกินความจำเป็นทำให้ต้นทุนของอาหาร/ก.ก. เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
           2. ในการให้อาหารเป็ดไข่ ต้องให้น้อยๆ ก่อนในระยะแรกแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มในภายหลัง เพราะเป็ดไข่ในช่วงเช้าจะกินอาหารอย่างเร็ว ซึ่งถ้ามีปริมาณอาหารมากในราง จำทำให้อาหารหกหล่นมาก ทุกครั้งก่อนให้อาหารควรทำความสะอาดรางน้ำก่อนและเติมน้ำให้เรียบร้อย ควรให้อาหารวันละ 3 ครั้ง ซึ่งจะทำให้ปริมาณอาหารหกหล่นน้อย แต่หากมีเวลาน้อยก็ให้อาหารอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย การให้อาหารแต่ละครั้งให้พิจารณาว่า เมื่อให้อาหารมื้อเช้ากะว่าอาหารที่ให้จะหมดพอดีหรือเหลือบ้างนิดหน่อย จนถึงเวลาให้อาหารมื้อต่อไป
          สำหรับการจัดการเรื่องรางน้ำ รางอาหาร การทำความสะอาดโรงเรือนและการทำความสะอาดกรงเป็ด ก็ดำเนินการเช่นเดียวกับเป็ดรุ่น แต่ในช่วงเป็ดกำลังให้ไข่ควรพิถีพิถันมากกว่าเป็ดรุ่น เพราะถ้าเป็ดเกิดตกใจ หรือได้รับความเครียดจากสภาพทั่วไป จะทำให้ผลผลิตน้อยลง ซึ่งในช่วงนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้
              2.1 การทำความสะอาดโรงเรือน และอุปกรณ์ต่างๆ ควรระมัดระวังให้เป็ดตกใจน้อยที่สุด และควรทำให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อให้เป็ดเกิดความเคยชิน
              2.2 การเปลี่ยนสูตรอาหารในแต่ละครั้ง ควรค่อยๆ เปลี่ยน หากเปลี่ยนโดยทันทีอาจทำให้เป็ดท้องเสีย ผลผลิตลดลงได้
              2.3 การจับเป็ดในเวลาทำวัคซีน ต้องพยายามจับให้นิ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้
              2.4 อย่าให้หนู แมว หมา มาป้วนเปี้ยนบริเวณกรงตับ หรือโรงเรือนที่เลี้ยง
              2.5 ในเวลากลางคืน ควรมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดคืน

ตารางที่ 4 สูตรอาหารเป็ดพันธุ์ไข่ระยะต่างๆ

ชนิดอาหาร
อายุเป็นสัปดาห์
0-4
4-9
9-20
เป็ดกำลังไข่
1
2
ปลายข้าว
รำหยาบ
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น 55%
ใบกระถินป่น
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซี่ยม
เกลือ
กรดอะมิโนไลซีน
กรดอะมิโนเมไธโอนีน
แร่ธาตุและวิตามิน
รวม
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
68.50
-
15.30
10.00
4.00
-
1.00
0.50
0.10
0.10
0.50
100.00
64.50
10.00
13.30
5.00
4.00
1.00
1.00
0.50
0.10
0.10
0.50
100.00
65.00
15.00
7.90
5.00
4.00
1.00
1.00
0.50
-
0.10
0.50
100.00
58.00
-
23.60
5.00
4.00
5.75
2.50
0.50
-
0.15
0.50
100.00
59.83
-
30.00
-
-
5.00
4.00
0.50
-
0.17
0.50
100.00
โปรตีน
พลังงานใช้ประโยชน์ได้
(%)
(กิโลแคลอรี่/ก.ก.)
18.70
3,077
15.40
2,740
13.20
2,640
18.70
2,750
18.44
2,770

ตารางที่ 5 ความต้องการโภชนะอาหารของเป็ดพันธุ์กบินทร์บุรีและพื้นเมืองปากน้ำ แยกตามอายุของเป็ด

โภชนะ
อายุเป็นสัปดาห์
0-4
4-9
9-20
เป็ดกำลังไข่
พลังงาน
โปรตีน
อาจินีน
ฮีสติดีน
ไอโซลูซีน
ลูซีน
ไลซีน
เมไธโอนีน+ซีสตีน
เฟนิล+ไทโรซีน
ทรีโอนีน
ทริปโตเฟน
เวลีน
(ก.ก.แคลอรี/ก.ก.)
(%)
(%)
(%)
(%)
(%)
(%)
(%)
(%)
(%)
(%)
(%)

2,890
18.70
1.12
0.43
0.66
1.31
1.10
0.69
1.44
0.69
0.24
0.80
2,730
15.40
0.92
0.35
0.54
1.08
0.90
0.57
0.19
0.57
0.20
0.66
2,600
13.20
0.79
0.32
0.57
1.09
0.61
0.52
1.04
0.43
0.16
0.61
2,750
18.70
1.14
0.45
0.80
1.55
1.00
0.74
1.47
0.70
0.22
0.86
แคลเซียม
ฟอสฟอรัสใช้ได้
แมกนีเซียม
แมงกานีส
สังกะสี
เหล็ก
(%)
(%)
(มก./ก.ก.)
(มก./ก.ก.)
(มก./ก.ก.)
(มก./ก.ก.)
0.90
0.36
500
47
62
96
0.90
0.36
500
47
62
96
0.90
0.36
500
47
62
96
3.00
0.43
500
60
72
72

ตารางที่ 6
ความต้องการไวตามินในอาหารผสมของลูกเป็ด เป็ดระยะเจริญเติบโต เป็ดรุ่น เป็ดไข่ และเป็ดพันธุ์

ไวตามิน (ม.ก./อาหาร 1 ก.ก.)
อายุเป็นสัปดาห์
0-4
4-9
9-20
เป็ดกำลังไข่/เป็ดพันธุ์
ไวตามินเอ
ไวตามินดี
ไวตามินอี
ไวตามินเค
ไวตามินบี 1
ไวตามินบี 2
แพนโททีนิค
ไนอาซีน
ไวตามินบี 6
ไวตามินบี 12
โคลีคลอไรด์
ไบโอติน
โฟลิกแอซิค
(ไอยู/ก.ก.)
(ไอยู/ก.ก.)
(ม.ก./ก.ก.)

8,250
600
15
3
3.90
6
9.6
60
2.9
0.02
1,690
0.10
1.30
8,250
600
15
3
3.9
6
9.6
60
2.9
0.02
1,430
0.10
1.30
8,250
600
15
3
3.9
6
9.6
60
2.9
0.02
1,430
0.10
1.30
1,250
1,200
37
3
2.6
6
13.0
52
2.9
0.02
1,300
0.10
0.65

0 comments:

Post a Comment